วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550
เปรียบเทียบค่าระหว่างเครื่อง
เปรียบเทียบค่าระหว่างเครื่อง ทำยังไง...
เมื่อวันก่อนมีน้องโทรมาถามปัญหาเรื่องผลการตรวจ แล้วลงท้ายด้วยคำถามที่ว่า วิธีเปรียบเทียบค่าจากเครื่องสองเครื่องทำยังไงคะ...
เป็นคำถามที่ดีมากครับ หลายแห่งมีเครื่องตั้งใช้งานอยู่มากกว่า 1 เครื่อง เพื่อสำรองกรณีเครื่องหนึ่งเสีย ก็ใช้อีกเครื่องหนึ่งได้ทันที
หรือสลับกันใช้งาน อย่างที่ม่วงฯ มีเครื่อง Chem 2 เครื่อง เครื่องเล็กจะเปิดใช้งานวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนวันธรรมดาจะเปิดทำ FBS ของผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน พุธ-พฤหัสบดี เท่านั้น
คำถามที่จะเจอจากผู้ตรวจประเมินที่มองเห็นก็คือ ค่าจากเครื่องสองเครื่องได้มีการทำเปรียบเทียบกันหรือยัง? ผลเป็นยังไง?
ขั้นตอนการทำเปรียบเทียบคือ หาค่า correlation ระหว่างค่าทั้งสองเครื่อง โดยใช้ตัวอย่าง สัก 20 ค่า ตรวจในเครื่องทั้งสอง สมมติอีกว่าเป็นการทดสอบ glucose ได้ค่าดังนี้
เอาเมาส์ แรเงาตามภาพข้างบน อย่าลืมแรเงาหัวข้อ AU400 และ A25 ด้วยครับ แล้วคลิกที่ปุ่มสร้างกราฟ
เลือกชนิดของกราฟเป็น scatter
คลิกปุ่ม Next ไป step 3 of 4 เปลี่ยน Value(X) axis และ Value (Y) axis เป็นตามภาพข้างล่างนี้ ส่วน Chart title ตั้งชื่อตามใจชอบเลยครับ จากนั้นคลิกปุ่ม Finish
ี่
จะได้กราฟดังภาพ
มองไปที่เมนูข้างบน จะมีเมนู chart เพิ่มขึ้นมา คลิกเลือก เลือกที่ Add trendline
เลือกที่ แท็ป Options
คลิกเลือกที่ออพชั่น Display eqyation on chart และ Display R-squaredvalue on chart ดังภาพ
แต่น แต่น แต๊น... เราจะเห็นสมการและค่า Rยกกำลังสอง บนกราฟ จับย้ายได้นะครับ เอาไปวางเหนือกราฟก็ได้
ค่า R ยกกำลังสองคือค่าที่แสดงความสัมพันธ์ ยิ่งใกล้ 1 เท่าไรยิ่งแสดงว่าทั้งสองเครื่องทำได้ค่าใกล้เคียงกันมาก ถ้าได้สัก 0.9 ก็ OK แล้ว
แล้วสมการล่ะ มันคืออะไร?????
คำถามนี้ต้องย้อนความรู้ไปสมัย ม.ต้น เรื่องสมการเส้นตรง y=ax+b
y คือค่าของเครื่องหลัก สมมติว่าเป็น AU400 แล้วกัน
x คือค่าจากเครื่องสำรอง A25
a คือความชันของสมการเส้นตรง
b คือค่าคงที่ที่ใช้แก้ไขค่าในสมการ
ความหมายของสมการก็คือ เราต้องหาค่า a มาคูณกับค่าจากเครื่องสำรอง (x) แล้วบวกด้วย b เพื่อให้ได้ค่าเท่า AU400
ดังนั้น หากเราอยากรู้ว่าตรวจใน A25 ได้เท่านี้ ใน AU400 จะได้ค่าเท่าไร ก็เอาไปแทนในสมการ ก็จะทราบค่าใน AU400
เครื่อง automate บางเครื่องจะสามารถใส่ค่า a และ b ได้ เพื่อปรับค่าให้เท่ากับอีกเครื่อง แต่เครื่องเล็กๆ มักไม่ค่อยเห็นเท่าไร เห็นแต่ในเครื่องรุ่นใหญ่
บทความนี้ยาวหน่อย แต่คิดว่าคงนำไปใช้ได้จริง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
2 ความคิดเห็น:
เพิ่มเติมอีกหน่อย เรื่องจำนวนข้อมูลที่เอามาำคำนวณ จริงๆ 20 ค่าก็ไม่ใช่วิชการเท่าไร เป็นค่ากะๆ เอา ถ้าได้มากๆ ยิ่งดี ให้ครอบคลุม ค่าสูง ปกติ และต่ำ จะได้ผลที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
ขอบคุณมากๆค่ะ เดี๋ยวจะลองไปทำตามดูนะคะ
แสดงความคิดเห็น